สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 8-14 มีนาคม 2564

 

ข้าว
 
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,778 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,788 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,216 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,244 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.29
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 27,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 27,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.73
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,630 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,750 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 0.81
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 861 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,210 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 873 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,266 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.37 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 56 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,012 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 544 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,367 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.31 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 355 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,012 บาท /ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 540 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,247 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.59 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 235 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.4416 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2563/64 ณ เดือนมีนาคม 2564ผลผลิต 504.411 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 497.709 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2562/63 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.35
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2563/64 ณ เดือน
มีนาคม 2564 มีปริมาณผลผลิต 504.411 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.35 การใช้ในประเทศ 504.693 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2562/63 ร้อยละ 1.69 การส่งออก/นำเข้า 46.139 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก
ปี 2562/63 ร้อยละ 2.67 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 177.833 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2562/63 ร้อยละ 0.16
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย เมียนมา กัมพูชา จีน กายานา อินเดีย ปากีสถาน ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล อียู ปารากวัย ตุรกี และอุรุกวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ คาเมรูน ไอเวอรี่โคสต์ เอธิโอเปีย อียู กานา อิหร่าน อิรัก ญี่ปุ่น เคนย่า ไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ เบนิน บราซิล จีน กินี มาเลเซีย เม็กซิโก โมแซมบิค เนปาล ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอเมริกา
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะมีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ บังกลาเทศ จีน อินเดีย และญี่ปุ่น
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          ญี่ปุ่น
          กระทรวงเกษตร ประมงและป่าไม้ (the Ministry of Agriculture, Fisheries and Forests; MAFF) ประกาศ
ผลการประมูลนำเข้าข้าวแบบ Simultaneous Buy and Sell (SBS) tender ครั้งที่ 8 ของปีงบประมาณ 2564
(1 เมษายน 2563 - 31 มีนาคม 2564) เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564 ซึ่งกำหนดจะซื้อข้าวจำนวน 47,015 ตัน ประกอบด้วยข้าวกล้องหรือข้าวสาร (Whole kernel) จำนวน 44,015 ตัน และข้าวหัก/ปลายข้าว (Broken) จำนวน 3,000 ตัน
โดยกำหนดส่งมอบวันที่ 15 สิงหาคม 2564
          ผลการประมูลปรากฏว่า มีการประมูลซื้อและขายข้าวได้จำนวนรวม 7,288 ตัน แบ่งเป็นข้าวเต็มเมล็ด (whole grain/brown rice) จำนวน 5,402 ตัน และข้าวหัก (broken rice) จำนวน 1,886 ตัน โดยในส่วนของข้าวเต็มเมล็ดนั้น ประกอบด้วยข้าวจากสหรัฐฯ จำนวน 3,284 ตัน ข้าวจากอิตาลี จำนวน 102 ตัน ข้าวจากอินเดีย จำนวน 260 ตัน
ข้าวจากไทย จำนวน 790 ตัน (ข้าวสารเมล็ดยาว จำนวน 748 ตัน และข้าวสารเมล็ดกลาง จำนวน 42 ตัน) ข้าวจากปากีสถาน จำนวน 365 ตัน ข้าวจากเวียดนาม จำนวน 150 ตัน และข้าวจากจีน จำนวน 460 ตัน ส่วนข้าวหักนั้น ประกอบด้วย ข้าวจากสหรัฐฯ จำนวน 1,386 ตัน และข้าวจากไทย จำนวน 500 ตัน
          ทั้งนี้ การประมูลนำเข้าข้าวแบบ SBS ทั้ง 7 ครั้งของปีงบประมาณ 2563/64 ซึ่งมีการประมูลครั้งแรกเมื่อวันที่
25 กันยายน 2563 มาจนถึงครั้งล่าสุดนี้ ญี่ปุ่นได้ซื้อข้าวไปแล้วเป็นจำนวนรวม 52,645 ตัน ประกอบด้วยข้าวจาก
สหรัฐฯ จำนวน 37,431 ตัน ข้าวจากไทย จำนวน 5,584 ตัน เป็นต้น
          การประมูลแบบ SBS รัฐบาลญี่ปุ่นจะซื้อข้าวจากแหล่งกำเนิดต่างๆ จากผู้ค้าข้าวญี่ปุ่นหลายรายในราคาเดียว หลังจากนั้นก็จะขายข้าวคืนให้กับบริษัทเหล่านั้นในราคาที่สูงกว่าเพื่อนำไปจำหน่ายในตลาดภายในประเทศ ซึ่งทุกการ
ซื้อขายจะต้องชำระภาษีในอัตราร้อยละ 8 ด้วย
          นอกจากนี้ กระทรวงเกษตร ประมงและป่าไม้ ยังได้ประกาศผลการประมูลนำเข้าข้าวแบบ MA (ordinary international tenders) ครั้งที่ 11 ปีงบประมาณ 2563/64 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 ซึ่งกำหนดซื้อข้าวรวม 37,980 ตัน ประกอบด้วย (1) ข้าวสารเมล็ดยาว (mochi milled long-grain rice) จากประเทศไทย จำนวน 2 ล็อต แบ่งเป็น 1,000 และ 980 ตัน กำหนดส่งมอบวันที่ 15 มิถุนายน 2564 (2) ข้าวสารเมล็ดกลาง (Non-glutinous polished medium
grain rice) จากประเทศใดก็ได้ (Global tender) จำนวน 2 ล็อต แบ่งเป็นล็อตละ 12,000 ตัน รวมเป็น 24,000 ตัน กำหนดส่งมอบวันที่ 20 มิถุนายน - 31 กรกฎาคม 2564 และวันที่ 10 กรกฎาคม - 20 สิงหาคม 2564 และ (3) ข้าวสารเมล็ดยาว (Non-glutinous milled long grain rice) จากประเทศใดก็ได้ (Global tender) จำนวน 2 ล็อต แบ่งเป็น
ล็อตละ 6,000 ตัน รวมเป็น 12,000 ตัน กำหนดส่งมอบวันที่ 20 มิถุนายน - 31 กรกฎาคม 2564
          ผลการประมูลปรากฏว่า มีผู้เข้าร่วมยื่นเสนอราคาจำนวน 31 ราย โดยญี่ปุ่นตกลงซื้อข้าวสารเมล็ดกลางจากสหรัฐฯ 12,000 ตัน และจีน 12,000 ตัน จากที่มีผู้ยื่นเสนอราคา 14 ราย และซื้อข้าวสารเมล็ดยาวจากไทย จำนวน
12,000 ตัน และ 1,980 ตัน จากที่มีผู้ยื่นเสนอราคารวม 17 ราย โดยราคาที่ประมูลได้เฉลี่ยอยู่ที่ 93,102 เยนต่อตัน
(ไม่รวมภาษี) (ประมาณ 859 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน) หรือที่ 100,550 เยนต่อตัน (รวมภาษี) (ประมาณ 927 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน)
          ทั้งนี้ การประมูลนำเข้าข้าวแบบ MA ทั้ง 10 ครั้ง ของปีงบประมาณ 2563/64 ซึ่งมีการประมูลครั้งแรกเมื่อวันที่
19 มิถุนายน 2563 มาจนถึงครั้งที่ 10 ญี่ปุ่นได้ซื้อข้าวไปแล้วจำนวนรวม 492,050 ตัน ประกอบด้วยข้าวจากสหรัฐฯ (ข้าวสารเมล็ดกลาง) จำนวน 217,000 ตัน ข้าวจากไทยจำนวน 227,050 ตัน ประกอบด้วยข้าวสารเมล็ดยาว จำนวน 222,750 ตัน และข้าวเหนียวเมล็ดยาว จำนวน 4,300 ตัน นอกจากนี้ยังซื้อข้าวจากประเทศจีน (ข้าวสารเมล็ดกลาง) จำนวน 48,000 ตัน
          กระทรวงเกษตร ประมงและป่าไม้ ยังได้ประกาศเปิดการประมูลนำเข้าข้าวแบบ CPTPP SBS ครั้งที่ 6 ของปีงบประมาณ 2564 ในวันที่ 16 มีนาคม 2564 ซึ่งกำหนดจะซื้อข้าวจำนวน 5,405 ตัน จากประเทศสมาชิก CPTPP
ทั้งนี้ การประมูลนำเข้าข้าวแบบ CPTPP SBS ครั้งที่ 5 ของปีงบประมาณ 2564 เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564 ซึ่งกำหนด
จะซื้อข้าวประมาณ 5,405 ตัน จากประเทศสมาชิกกลุ่ม CPTPP นั้น ปรากฏว่าไม่มีผู้ยื่นประมูล
          ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (The Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership; CPTPP) เป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่อง
การค้า การบริการ และการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและกฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็น
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาล
และนักลงทุนต่างชาติซึ่งริเริ่มกันมาตั้งแต่ปี 2549 มีชื่อเดิมว่า TPP (Trans-Pacific Partnership) และมีสมาชิกทั้งหมด
12 ประเทศ แต่หลังจากสหรัฐฯ ถอนตัวออกไปเมื่อต้นปี 2560 ประเทศสมาชิกที่เหลือก็ตัดสินใจเดินหน้าความตกลงต่อ
โดยใช้ชื่อใหม่ว่า CPTPP ปัจจุบัน สมาชิก CPTPP มีทั้งหมด 11 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก ออสเตรเลีย เปรู
ชิลี นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม
          ที่มา : Oryza.com




กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.02 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.78 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.77 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.47
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  9.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.40 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.24
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 311.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,486 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 318.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,586 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.20 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 100.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 555.76 เซนต์ (6,711.20 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 553.28 เซนต์(6,648 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 63.20 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.74 ล้านตัน (ร้อยละ 22.39 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ความต้องการใช้หัวมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะมันเส้น ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในเกณฑ์สูงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.12 บาทราคาลดลงจากกิโลกรัมละ
2.13 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.47
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.88 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.85 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.51
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.07 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.99 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.14
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.69 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.65 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.29
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 263 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,018 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,913 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลังสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,725 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (14,532 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.438 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.259 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.015 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.183  ล้านตัน ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 41.67 และร้อยละ 41.53 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.78 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 5.15 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 12.23
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 35.73 บาท ลดลงจาก กก.ละ 36.40 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.84
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
มาเลเซียขาดแคลนแรงงานตัดปาล์ม ส่งผลให้สูญเสียผลผลิตไปถึงร้อยละ 20 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากแรงงานตัดปาล์มในมาเลเซียคิดเป็นแรงงานต่างชาติถึงร้อยละ 75 ทางภาครัฐและเอกชนจึงร่วมมือกันสร้างโปรแกรม เพื่อหาแรงงาน ซึ่งโปรแกรมนี้จะช่วยให้หาแรงงานได้อย่างรวดเร็วและสนับสนุนการจ้างงานแรงงานในพื้นที่ ผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานในสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มสูงขึ้น เนื่องจากการสูญเสียผลผลิตจากการขาดแคลนแรงงาน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,124.39 ดอลลาร์มาเลเซีย (31.24 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,930.21 ดอลลาร์มาเลเซีย (29.83 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.94  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,140.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.19 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,093.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.36 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.30
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
         
          ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          รายงานเดือนมีนาคม USDA ลดอุปทานน้ำตาลของสหรัฐฯ ในปี 2563/2564 ลง 199,000 ตัน เหลือ 12.8 ล้านตัน เนื่องจากการนำเข้าที่ลดลงเพื่อชดเชยการผลิตที่สูงขึ้น การนำเข้าจากเม็กซิโกลดลง 210,000 ตัน เหลือ 820,000 ตัน น้ำตาลสำหรับการบริโภคในประเทศลดลง 68,000 ตัน เป็น 11 ล้านตัน เนื่องจากความต้องการที่ลดลง เป็นผลให้อัตราส่วนสต็อกน้ำตาลต่อการใช้งานลดลงจาก 16.1 เป็น 15.1
          ในเม็กซิโก USDA ได้ลดการผลิตลง 50,000 ตัน เป็น 5.9 ล้านตัน และอุปสงค์ในประเทศลดลงเหลือ 4.03 ล้านตัน ขณะที่การส่งออกรวมเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 1.492 ล้านตัน
          กระทรวงพาณิชย์ของจีนคาดว่าจะมีการนำเข้าน้ำตาลทรายดิบ 60,000 ตัน มายังฮ่องกงในเดือนมีนาคม ขณะเดียวกันกระทรวงเกษตรไม่ได้เปลี่ยนแปลงประมาณการการผลิตน้ำตาลในรายงานของเดือนนี้ มีข้อสังเกตว่าปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นช่วยบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศยกเว้น ยูนนานตะวันตก ทำให้สภาพอากาศจะเป็นผลดีต่อพืชและต้นอ้อย




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 15.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.05 บาท ในสัปดาห์สัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.39
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ  
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,424.24 เซนต์ (16.15 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,413.28 เซนต์ (15.85 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.78
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 409.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.63 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 416.0 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.64
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 55.58 เซนต์ (37.82 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 51.83 เซนต์ (34.86 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.24

 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.05 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.89
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.13
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.70
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 19.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 36.84
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 33.00 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 12.12
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,152.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,164.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.06 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,053.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.05 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,098.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.03 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.10 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.98 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,218.60 ดอลลาร์สหรัฐ (37.10 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตัน 1,265.40 ดอลลาร์สหรัฐ (38.07 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.70 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.97 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 887.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.01 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตัน 662.80 ดอลลาร์สหรัฐ (19.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 33.89 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 7.07 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,245.20 ดอลลาร์สหรัฐ (37.91 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,124.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.84 บาท/กิโลกรัม) สัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.70 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 4.07 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.66 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.49
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.54 บาท สูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.40 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 86.75 เซนต์(กิโลกรัมละ 59.05 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 89.18 เซนต์ (กิโลกรัม 60.01 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.72 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.96 บาท)

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,878 บาท สูงขึ้นจาก 1,865 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,878 บาท
ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,539 บาท สูงขึ้นจาก 1, 529 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 0.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,539 บาท
ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน  ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 944 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์  


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  

ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  75.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 75.67 คิดเป็นร้อยละ 0.34 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 73.60 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.96 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.47 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.20 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,800 บาท สูงขึ้นจาก ตัวละ 2,600 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.69 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.50 บาท สูงขึ้นจาก เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.23 จากสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย จากสัปดาห์ที่ผ่าน เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.73 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 34.81 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 8.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 23.53 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท สูงขึ้นจาก เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 275 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา     โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 303 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 285 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 263 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. 
ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 250 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 342 บาท สูงขึ้นจาก ร้อยฟองละ 339 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 348 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 361 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 316 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 343 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 305 บาท ลดลงจาก เฉลี่ยร้อยฟองละ 315 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.85 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 97.31 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.55 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 98.46 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.35 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.43 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 76.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.02 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.03 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา 
 

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 8 – 14 มีนาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.92 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.40 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 142.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.32 บาท
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 145.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 142.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.44 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.67 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.80 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.59 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.21 บาท
 สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท